คลิกเลย.มีรูปภาพสวยๆให้คอมเม้นท์กลับไปหาเพื่อน.
aoJvoJ: มิถุนายน 2009

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การวางตำแหน่งกิ่งหลักของบอนไช

ก่อนที่เราจะวางตำแหน่งกิ่งโครงสร้างหลักของบอนไซเราก็ต้องเลือกหน้าไม้กันก่อน กล่าวคือ ผู้เลี้ยงจะให้ด้านใดของต้นไม้เป็นด้านหน้าของบอนไซ ซึ่งการเลือกหน้าไม้นี้ก็ให้ดูว่าเมื่อมองไปที่บอนไซในด้านใดแล้วไม้สวยที่สุดโดยดูจากโคนต้น ราก และลำต้น ก็เลือกด้านนั้นเป็นหน้าไม้เพื่อวางตำแหน่งของกิ่งโครงสร้างหลักต่อไป
สำหรับในการเลี้ยงบอนไซนั้นจะมีกิ่งโครงสร้างหลักที่สำคัญอยู่ 5 กิ่ง โดยจะมีตำแหน่งของกิ่งที่สลับกันไป ไม่อยู่ซ้อนกันและไม่อยู่ในตำแหน่งที่ตรงข้ามกับกิ่งอื่นโดยกระจายอยู่รอบต้น ซึ่งจะทำให้บอนไซได้รูปทรงที่สวยงาม ดังนั้นการวางตำแหน่งกิ่งโครงสร้างหลักควรวางตำแหน่งไว้ดังนี้
กิ่งที่ 1 เป็นกิ่งแรกที่อยู่เหนือจากโคนต้นขึ้นไป การวางตำแหน่งกิ่งนั้นจะวางตำแหน่งกิ่งไว้ด้านซ้ายหรือด้านขวาก็ได้กิ่งที่ 2 เป็นกิ่งที่อยู่เหนือขึ้นไปจากกิ่งที่ 1 การวางตำแหน่งกิ่งนั้นจะวางตำแหน่งกิ่งไว้ตรงข้ามกับกิ่งที่ 1กิ่งที่ 3 เป็นกิ่งที่อยู่เหนือขึ้นไปจากกิ่งที่ 2 การวางตำแหน่งกิ่งนั้นจะวางตำแหน่งกิ่งไว้ตรงข้ามกับกิ่งที่ 2 แต่จะเบนออกมาด้านหน้าเพื่อไม่ให้ซ้อนกับกิ่งที่ 1กิ่งหลัง เป็นกิ่งที่อยู่ระหว่างกิ่งที่ 1 กับกิ่งที่ 2 หรืออยู่เหนือกิ่งที่ 2 ก็ได้ ตามความเหมาะสมของแต่ละต้น การวางตำแหน่งกิ่งนั้นจะวางตำแหน่งกิ่งไว้ด้านหลังของต้นไม้โดยให้กิ่งเบนออกด้านซ้ายหรือด้านขวาก็ได้ กิ่งหน้า เป็นกิ่งที่อยู่เหนือขึ้นไปจากกิ่งที่ 3 การวางตำแหน่งกิ่งนั้นจะวางตำแหน่งกิ่งไว้ด้านหน้าของต้นไม้ แต่กิ่งจะไม่พุ่งออกมาโดยตรงจะเบนออกซ้ายหรือขวาก็ได้

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไม้เอนชาย หรือ เอนชายมอ


ไม้เอนชายลำต้นขึ้นตรงแล้วเอนออกไปด้านข้าง ดูเหมือนต้นไม้ที่ขึ้นตามหน้าผา หรือริมตลิ่ง โดยมีรากยึดเกาะด้านข้าง ส่วนมากมักเป็นหุ่นไม้จากป่า แล้วนำมาดัดแต่งกิ่งและช่อใหม่ ไม้เอนชายนี้เข้าใจว่าเดิมนิยมปลูกเพื่อข่มเขาหรือล้อรูปเขา ด้านหลังเขามอ

ไม้เขน


ไม้เขนจะแตกต่างจากไม้ดัดชนิดอื่นตรงที่ให้ความสำคัญกับทรงต้น โคนต้นจะต้องมีปุ่มมีตา กิ่งต่ำสุดต้องดัดลงให้อยู่ตรงข้ามกับกิ่งที่ 2 และกิ่งยอด และกิ่งยอดต้องหักเอี้ยวลงมาข้างหลังก่อนแล้วจึงดัดวกกลับขึ้น กิ่งที่ 2 ดัดให้ได้จังหวะรับกับกิ่งยอด ไม้เขนนี้นิยมทำกิ่งและช่อพุ่มใบ 3 ช่อ จึงจะดูสวยงาม

ไม้ญี่ปุ่น


ไม้ญี่ปุ่น เป็นไม้ดัดที่คล้ายกับไม้แคระทรงญี่ปุ่น และมีวิธีการดัดก็คล้ายๆ กัน คือทำโคนต้นใหญ่ และปลายต้นเรียว ลำต้นตรงหรือเอนเล็กน้อย กิ่งและช่อพุ่มดัดแต่งให้กระจายตามรูปทรงไม้ใหญ่ในธรรมชาติ ไม้ดัดชนิดนี้จะปลูกติดกัน 2 ต้น ให้มีขนาดลดหลั่นกัน หรือจะทำเฉพาะต้นเดี่ยวก็ได้

ไม้ตลก


ไม้ตลกเป็นไม้ดัดที่ตั้งใจให้ผู้พบเห็นแปลกตาทำนองตลกขบขัน โดยจะมีทั้งที่เป็นไม้ตลกหัว คือลำต้นส่วนบนสุดจะเป็นก้อนกลุ่มยิ่งใหญ่โตเท่าไหร่ยิ่งดี ลำต้นส่วนอื่นเป็นกระปุ่มกระป่ำ มีกิ่งมีช่อน้อย ส่วนไม้ตลกราก จะมีรากลอยหรือรากบางส่วนโผล่พื้นดิน แต่ถ้าจะให้สวยงามจริงจะต้องมีทั้งตลกหัวและตลกรากอยู่ในต้นเดียวกัน และทำช่อกิ่งเพียงเล็กน้อยจึงจะดูสวยงาม

ไม้กำมะลอ


ไม้กำมะลอจะมีลักษณะทรงต้นตรงขึ้นไป จะมีกิ่งที่โคนหรือไม่มีก็ได้ แต่ต้องดัดส่วนยอดให้หันเหหมุนเวียนจากยอดวกวนชี้ลงล่างไม่ว่าจะเป็นลักษณะใด หรือยักเยื้องพิสดารเท่าไร ก็จะยิ่งสมชื่อไม้กำมะลอ คือไม่ใช่ของจริง จะมีกิ่งและช่อมากน้อยเท่าไรก็ไม่กำหนด เพียงแต่ให้ดูเข้ารูปทรงสวยงามก็พอ

ไม้ป่าขอม


ไม้ป่าข้อม ทรงต้นจะตรงขึ้นไปถึงยอด ตรงโคนมีปุ่มรอยตัด ดัด

แต่งกิ่งให้วนเวียนรอบๆ ต้นขึ้นไป กำหนดให้ทำ 3 กิ่งๆ ละ 3
ช่อ รวมเป็น 9 ช่อ และต้องจัดทำกิ่งและช่อให้สม่ำเสมอ และจะ
ทำตอแอบ (ต้นไม้เล็กที่ขึ้นตรงโคนต้น) หรือไม่ก็ได้

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไม้หกเหียน


ไม้หกเหียนเป็นไม้ที่ดัดตัดแต่งต้นและกิ่งให้ย้อนกลับลงมาทางโคนต้นก่อน แล้วจึงดัดกิ่งให้โค้งงอขึ้นไปรอบๆ ต้น ตามตำรากำหนดให้ทำกิ่งและช่อพุ่ม 11 ช่อ ไม้หกเหียนเป็นไม้ดัดอีกประเภทหนึ่งที่ดักยาก ต้องใช้ฝีมือและความวิริยะอุตสาหะมากจึงจะทำได้

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไม้ฉาก


ไม้ฉาก ลักษณะทั้งทรงต้นและกิ่งดัดแต่งให้เป็นรูปมุมฉาก ส่วนปลายกิ่งก็จะตัดแต่งให้เป็นพุ่มใบ โดยนิยมทำเป็น 9 ช่อไม้ฉากเป็นไม้ดัดที่ดัดยากที่สุด ผู้ที่ดัดจะต้องเป็นผู้มีฝีมือและมีความวิริยะ อดทนสูงมากจึงจะทำได้

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไม้ดัด ไม้เคระ


ไม้ขบวน มีลักษณะทรงต้นตรงหรือคดเล็กน้อย เป็น

ไม้ดัดที่มีทรงต้นต่ำ

ดัดกิ่งให้วกเวียนขึ้นไปวนสุดยอด

ทั่วไปนิยมทำเป็น9ช่อ