คลิกเลย.มีรูปภาพสวยๆให้คอมเม้นท์กลับไปหาเพื่อน.
aoJvoJ: กันยายน 2009

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

ไม้ดัด


รูปกวาง

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

ไม้ดัดลงกระถาง


ไม้ดัดลงกระถาง


การตัดแต่งกิ่งช่อใบ

การปิดกระหม่อมทำหุ่นไม้ดัด
ลักษณะของไม้หุ่นที่มีรูปทรงเป็นลักษณะไม้หุ่นเดียว (ไม้วิชา) เมื่อนำมาปลูกและฟื้นตัวได้ดี มีกิ่งกระโดงแตกใหม่แล้วจะต้องทำการปิดกระหม่อม ลักษณะไม้ท่อนเดียวเมื่อเจริญเติบโตดีแล้วให้เลื่อยต้นตอ สูงจากพื้นดินพอเหมาะตามต้องการ ต่อมาจะเกิดกิ่งกระโดงแตกออกมาใต้บริเวณรอยตัด ถ้ากิ่งกระโดงแตกต่ำจากรอยตัดมากเกินไป ก็ให้ตัดหัวตอลดต่ำลง เมื่อกระโดงยาวได้ประมาณ 30 เซนติเมตร ก็ให้เริ่มทำการปิดกระหม่อมทำหุ่น โดยการค่อย ๆ กับหลักให้แน่น ปล่อยให้กิ่งกระโดงยาวออกไปเรื่อย ๆ แต่ต้องคอยริดยอดหรือให้กิ่งกระโดงโตเร็วขึ้น รอจนกว่ากิ่งกระโดงจะโตเชื่อมปิดกระหม่อมได้เรียบร้อยดีแล้ว ก็ให้ตัดกิ่งกระโดงออกเหลือไว้เท่าที่ต้องการเท่านั้น เพื่อใช้กิ่งกระโดงนี้เป็นหุ่นเลี้ยงกิ่งแยกต่อไป แต่ละหุ่นจะปล่อยให้แตกกิ่งแยกเท่าไรนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าจะทำไม้ตัดชนิดใดจากรูปแบบทั้ง 9 ชนิด ที่กล่าวไว้แล้วในตอนที่ 2
เทคนิคการตัดแต่งกิ่ง
การเตรียมต้นตอ เพื่อการปลูกเลี้ยงเป็นไม้ดัดไม่ว่าต้นตอที่ได้มานั้นจะมีรูปแบบเป็นไม้บรรจบป่าหรือไม้บรรจบหุ่น รูปทรงมักจะไม่งามตามความต้องการ คงต้องเลี้ยงและบังคับ ให้มีกิ่งก้านพุ่มใบตามรูปร่างรูปทรงที่ตัดเอาไว้ การดัดกิ่งก้านหรือบังคับให้แตกกิ่งก้านตรงจุดที่ต้องการ เป็นเรื่องที่ต้องทำเสมอ เทคนิคเหล่านี้จำเป็นต้องศึกษา ติดตามสังเกตจากผู้มีประสบการณ์ อย่างไรก็ตาม แบบเรียนคงบอกผู้ปลูกเลี้ยงไม่ได้ว่าจะต้องดัดตรงไหนให้แตกกิ่งใหม่กี่กิ่ง คงเสนอแนะเทคนิคการดัดและเสริมกิ่ง เท่าที่ผู้ปลูกเลี้ยงนิยมทำกันเท่านั้น
การดัดโค้งงอ
เป็นการจัดกิ่งพุ่มใบให้ระยะห่างได้จังหวะช่องไฟที่เหมาะสม การดัดลักษณะนี้จะใช้ลวดพันลำต้นและกิ่งที่ต้องการ การพันลวดควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ 1. ขนาดของลวด เลือกให้มีขนาดเหมาะสมกับลำต้นหรือกิ่งที่จะพันเพราะถ้าใช้ลวดเล็กเกินไป จะบังคับให้กิ่งโค้งตามต้องการไม่ได้ หรือถ้าลวดมีขนาดใหญ่ก็จะแข็งทำให้พันลำบาก 2. การพัน พันวนไปตามต้นกิ่งในลักษณะ 45 องศา ทั้งระยะห่างพอประมาณอย่าให้หลวมหรือแน่นจนเกินไป 3. การดูแลหลังพันลวด หลังจากพันลวดเสร็จแล้วสามารถดัดได้ตามต้องการ การดัดควรทำอย่างเบามือ อย่าพยายามดัดหรือหักลำต้นจนเกินไปเพราะอาจทำให้กิ่งและลำต้นเสียหายได้ เมื่อดัดเรียบร้อยแล้ว ต้องปล่อยให้ต้นไม้อยู่ตัวสักระยะหนึ่ง ประมาณ 3-4 เดือน จึงเอาลวดออกเพื่อป้องกันการสปริงตัวกลับของกิ่ง ถ้าเห็นว่ากิ่งมีรอยถูกลวดมัด ให้รีบแก้ออกแล้วพันใหม่ทันที การดัดกิ่งให้โค้งงออีกรูปแบบหนึ่ง คือการใช้น้ำหนักถ่วงให้กิ่งโค้ง ห้อยงอลงเพราะแรงดึงหรือแรงถ่วง โดยใช้ก้อนหินหรือของหนัก ๆ ผูกเชือกห้อยไว้กับกิ่งที่ต้องการดัด จนเห็นว่ากิ่งอยู่ตัวดีจึงนำออก
การดัดฉาก
กรณีที่ต้องการกิ่งหักมุม หรือหักข้อศอก ให้ใช้มีดปาดส่วนของกิ่งด้านที่ต้องการหักมุมออก แล้วหักพับตามต้องการโดยใช้ลวดบังคับหรือใช้เชือกผูกยึดจากนั้นใช้พลาสติกพันทับรอยปาดที่หักพับของกิ่งเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าได้ จะทำให้รอยแผลสร้างเปลือกออกหุ้มโดยเร็วขึ้น
การบังคับให้แตกกิ่ง
บางครั้งจำเป็นต้องบังคับให้แตกกิ่งใหม่ตรงตามจุดที่ต้องการซึ่งอาจเป็นได้ทั้งกิ่งที่มีตาและตรงที่ไม่มีตาการบังคับให้แตกกิ่งตรงที่มีตาอยู่แล้ว ทำได้โดยการใช้พลาสติกพันลำต้นและกิ่งให้มิด เว้นไว้ตรงตาที่ต้องการให้แตกกิ่ง เมื่อตาที่เว้นไว้แตกกิ่งจะต้องรอให้กิ่งโตพอสมควร จึงเอาพลาสติกที่พันออกการบังคับให้แตกกิ่งตรงที่ไม่มีตา วิธีการทำได้โดยใช้สว่านเจาะทะลุ แล้วนำกิ่งยอดจากต้นอื่น มาตัดกิ่งแขนงเล็ก ๆ และรูดใบออกให้หมด นำกิ่งดังกล่าวสอดให้ทะลุรูเจาะนั้น แล้วผูกยึดกิ่งสอดนั้นให้แน่น รอให้กิ่งที่สอดนั้นโตขึ้นเนื้อเยื่อและท่อน้ำนำอาหารก็จะเชื่อมประสานติดกันแน่น จากนั้นจึงค่อยตัดโคนกิ่งที่สอดให้ชิดกับกิ่งหุ่น ซึ่งเมื่อนาน ๆ ไปก็จะดูเป็นกิ่งจากต้นหุ่นเดียวกัน
การทำช่อหรือพุ่มใบ
เมื่อมีการจัดหรือบังคับให้แตกกิ่งตรงตามจุดต้องการ สิ่งที่ต้องดูแลต่อไปก็คือช่อหรือพุ่มใบ ไม้ดัดนอกจากรูปทรงต้นกิ่งก้านแล้ว ช่อหรือพุ่มใบเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่จะทำให้ไม้ต้นนั้นดูงดงาม ดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็น การทำช่อหรือพุ่มใบทำได้โดยการตัดยอดของกิ่งนั้นออก ให้กิ่งนั้นแตกยอดและใบออกมา รอจนยอดนั้นมีใบเพสลาด (กิ่งอ่อนกิ่งแก่) จากนั้นก็ตัดยอดที่แตกออกมาใหม่นี้อีกครั้งในลักษณะเช่นนี้ติดต่อกันไป จนกระทั่งส่วนนั้นแตกยอดและใบมากขึ้นดูสวยงาม ก็ตัดแต่งให้ได้รูปทรงของช่อใบตามต้องการ การทำช่อหรือพุ่มใบ กิ่งหนึ่งจะแยกออกเป็นกี่ช่อที่พุ่มใบก็ได้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบตามตำราและรูปทรงของไม้หุ่น แต่สิ่งที่ควรคำนึงคือ การจัดช่อใบให้ได้ระยะที่พอเหมาะกับสัดส่วนและสัมพันธ์กัน เช่น การที่จะทำให้มี 9 ช่อ ก็จัดวาง 2 ชั้นชั้นละ 4 ช่อ และวางไว้ที่ยอดอีก 1 ช่อ รวมเป็น 9 ช่อพอดี

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของไม้ดัด ไม้แคระ

ประโยชน์ก็คือ ตกแต่งบ้านให้สวยงาม และถ้าใครทำขายก็มีรายได้มาพอที่จะกินได้วันๆ บางคนก็ว่าไว้แก้เคราะห์ แก้นั่นแก้นี้ บ้างก็เอาไว้ประดัดถนน เห็นแล้วไม่มีเบื่อ บ้างก็ดัดรู้สัตว์ต่าง ดูแล้วก็สวยดี แล้วก็ทำให้บรรยากาศดีขึ้น เห็นแล้วสบายตา

ความหมายและความสำคัญของไม้ดัดไม้แคระ

มรดกทางศิลปที่เก่าแก่อย่างหนึ่งของไทย ที่ปัจจุบันหาดูได้ค่อนข้างยาก และหาผู้สืบทอดได้ยากอีกด้วยก็คือ การเลี้ยงไม้ดัดแบบไทย ซึ่งเป็นงานอดิเรกของคนไทยมาตั้งแต่สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา ดังที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งผู้เขียนได้เคยยกมากล่าวไว้ในบทที่ 1 แล้ว ประมาณกันว่า"ขุนแผน" ตัวเอกในเรื่องนี้ มีตัวตนจริงๆ อยู่ในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ระหว่างปีพุทธศักราช 2034 ถึง 2072 หรือจุลศักราช 840 ถึง 891 ซึ่งก็หมายความว่าคนไทยเล่นไม้ดัดเป็นงานอดิเรกกันมานานกว่า 500 ปีแล้ว
แต่ว่า ก่อนที่จะคุยกันเรื่องไม้ดัดแบบไทยกันต่อไป ขอทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ไม้ดัดแบบไทยนั้น มีความแตกต่างไปจากไม้แคระตามศิลป"บุ่งไช่"ของจีน และ"บอนไซ"ของญี่ปุ่น อย่างที่เรียกว่าไปกันคนละเรื่อง ประการสำคัญก็คือ ไม้ดัดไทยไม่ใช่ไม้แคระ เพราะฉนั้นการเล่นไม้ดัดกับการเล่นบอนไซนั้นจะไม่เหมือนกัน ข้อแรก ไม้แคระหรือบอนไซนั้น เท่าที่เคยเห็นมา ความสูงอย่างมากที่สุดก็อยู่ประมาณไม่เกินเมตรครึ่ง หรือประมาณ 150 เซ็นติเมตร แล้วเล็กลงไปจนถึงขั้นบอนไซจิ๋ว ซึ่งสูงไม่ถึง 10 เซ็นติเมตร แต่ไม้ดัดของไทยนั้น ขนาดเล็กที่สุดก็ปาเข้าไปร่วมเมตรแล้ว สำหรับที่สูงจริงๆ นั้น ถ้าจะลองไปดูแถวๆ ในพระบรมมหาราชวัง แถวพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ก็ไม่หนี 3-4 เมตรข้อที่สอง รูปแบบของการดัดกิ่งและการตกแต่งกิ่งก้านแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง รูปแบบของบอนไซนั้น เป็นการคงเอาลักษณะและรูปทรงเดิมๆ ของต้นไม้ที่มีอยู่ในธรรมชาติ มาย่อส่วนให้เล็กลงเป็นไม้แคระ แต่รูปแบบของกระบวนไม้ดัดไทยนั้น ไม่คงลักษณะเดิมตามธรรมชาติของต้นไม้ไว้เลย รูปร่างหน้าตาของไม้ดัดไทยแต่ละแบบนับได้ว่ามีความพิลึกพิสดารอย่างยิ่ง ต้องใช้เวลานับเป็นสิบปีกว่าจะ"จบ"ได้ บางทีจนเจ้าของไม้ตายไปแล้วไม้ยังจบไม่ลงก็มี นับเป็นงานอดิเรกที่ต้องใช้ความอุตสาหะ วิริยะ มานะ อดทน ใจเย็น โดยครบถ้วนกระบวนความ ดังนั้นไม้ดัดไทยจึงทรงคุณค่าอยู่ในตัวของมันเองและมีค่าเสมือนวัตถุโบราณอย่างหนึ่งทีเดียว

ลักษณะและชนิดพันของไม้ดัดไม้แคระ


คุณลักษณะที่เหมาะสมของพันธุ์ไม้ดัด การจะเลือกพันธุ์ไม้มาปลูกเลี้ยงเป็นไม้ดัดนั้น จำเป็นจะต้องคำนึงถึงคุณลักษณะที่สำคัญของพันธุ์ไม้ชนิดนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดัดได้ง่าย และสวยงาม ดังคุณสมบัติที่ต้องคำนึงต่อไปนี้
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีกิ่งเหนียว สามารถดัดให้โค้งงอได้ตามต้องการ
เมื่อทำการดัดแล้วจะคงรูปทรงไม่เปลี่ยนแปลงรูปทรงง่าย
เป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่เจริญเติบโตรวดเร็วเกินไปนัก ซึ่งอาจทำให้เสียรูปทรงได้ง่าย
ใบควรมีขนาดเล็กเพื่อดูเหมาะสมกับหุ่น เปลือกควรมีความสวยงาม เช่น ผิวขรุขระหรือรอยแตก เนื่องจากไม้ดัดจะต้องริดกิ่งใบตามลำต้น จึงเป็นการอวดผิวเปลือกไม้ให้เห็นชัดเจน
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีอายุยืนนาน และทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
เป็นพันธุ์ไม้ที่หาง่ายในท้องถิ่น
ชนิดพันธุ์ไม้ดัดที่นิยม หากพิจารณาถึงคุณลักษณะที่เหมาะสมของพันธุ์ไม้ดัดแล้ว จะมีชนิดพันธุ์ที่นิยมนำมาปลูกเลี้ยงเป็นไม้ดัด

การคัดเลือกและเตรียมพันธุ์ไม้ดัด

ลักษณะรูปทรงของไม้หุ่น ต้นไม้ที่นำมาทำเป็นไม้ดัดเราจะเรียกว่า "ไม้หุ่น" ลักษณะการได้มาของไม้หุ่นจะมาจาก 2 แหล่ง คือ 1। ได้จากต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าตามธรรมชาติ ซึ่งอาจจะออกไปหาขุดเองหรือหาซื้อจากผู้ที่ขุดมาขาย 2। ปลูกเลี้ยงขึ้นมาเอง ไม่ว่าจะหาไม้มาได้ในลักษณะใดก็ตาม การดัดตกแต่งจะยุ่งยากหรือจะต้องใช้เวลามากน้อยแค่ไหน ก็จะขึ้นอยู่กับรูปทรงของไม้หุ่นเป็นสำคัญโดยทั่ว ๆ ไปนักเลงไม้ดัดจำแนกรูปทรงไม้หุ่นไว้ 3 แบบ ด้วยกัน คือ 1। ไม้บรรจบป่า 2। ไม้บรรจบหุ่น 3। ไม้วิชา ไม้บรรจบป่า จะเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ รูปทรงกิ่งก้านคดเคี้ยวไปมา เนื่องจากถูกสัตว์เหยียบย่ำหรือเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ใต้พุ่มไม้ใหญ่ชนิดอื่น ๆ ทรงพุ่ม แลดูแคระแกร็นลักษณะทรงต้นดีเข้าที่เกือบใช้ได้แล้วอาจขาดเพียง 2-3 กิ่งเท่านั้นไม้ลักษณะนี้จึงเหมาะสมต่อการนำมาดัดให้ได้รูปทรง เพียงเพิ่มกิ่ง เพิ่มช่อใบ เว้นช่องไฟของช่อใบให้รับหุ่นหรือทรงต้น ก็จะทำให้เป็นไม้ดัดที่ดูงานได้ โดยใช้เวลาอีกไม่มากนัก การเลือกไม้ลักษณะนี้มาทำเป็นไม้ดัด อาจใช้เวลาเพียง 2-3 ปี ก็เสร็จสมบูรณ์ ไม้บรรจบหุ่น เป็นไม้ที่มีลักษณะรูปทรงหุ่นใกล้เคียงกับรูปแบบไม้ดัดที่จะทำ เพียงนำมาทำการดัดแต่งอีกเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เริ่มทำกิ่งช่อต่อไปได้ไม้บรรจบหุ่นนี้เหมาะสำหรับนำมาดัดแต่งทำเป็นไม้ดัด ลักษณะไม้ตลก ไม้ขบวน ไม้เอนชายและไม้ญี่ปุ่นเท่านั้น การเลือกไม้ลักษณะนี้มาทำเป็นไม้ดัด จะต้องใช้เวลานานอาจจะถึง 9 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์ ไม้วิชา เป็นไม้ที่มีลักษณะทรงต้นเพียงท่อนเดียว จะนำมาทำเป็นรูปร่างอย่างไรไม่ได้เลย เป็นไม้หุ่นที่นำมาทำไม้ดัดยากที่สุด จะต้องนำมาเลี้ยงให้ต้นแตกกิ่งกระโดงใหม่แล้วจึงจะทำการปิดกระหม่อมหุ่น (การปิดกระหม่อม หมายถึง การที่ดัดกิ่งที่แตกใหม่มาทับรอยตัดของต้นต่อเดิม) เมื่อกิ่งกระโดงได้ขนาดและเชื่อมกับต้นตอได้ดีแล้ว ก็จะใช้กิ่งกระโดงนั้นเป็นหุ่นทำกิ่งช่อต่อไป ผู้ดัดจะต้องใช้ฝีมือ และมีความวิริยะอุตสาหะเป็นเลิศ จึงจะทำได้สำเร็จ การใช้ไม้ชนิดนี้มาทำไม้หุ่นต้องใช้เวลามากกว่าจะได้ไม้ดัดที่เสร็จสมบูรณ์อาจจะถึง 15-18 ปีก็ได้ ปีก็ได้ ไม้วิชานี้ถือว่าเป็นไม้ที่ใช้ทดสอบฝีมือผู้ดัดได้เป็นอย่างดี




การเตรียมพันธุ์ไม้ดัด
ในอดีตที่ผ่านมา ผู้ที่จะเลี้ยงไม้ดัดจะต้องไปเสาะหาไม้หุ่นจากป่าธรรมชาติซึ่งมีอยู่มากมาย การขุดก็ต้องค่อย ๆ ขุดล้อมโคนต้นให้มีดินติดมา ตัดกิ่งและรากที่ยาวเกินไปออก ใช้กระสอบหรือวัตถุอื่นปิดคลุมส่วนดินและรากเอาไว้ ในขณะที่เคลื่อนย้าย จะต้องระมัดระวังอย่าให้กระเทือนมาก นำมาปลูกและใช้หลักปักยึดไว้ให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นเอียงหรือล้มจะต้องปลูกทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง รอจนต้นไม้ฟื้นตัว และแตกกิ่งก้านใหม่จึงจะค่อยเริ่มลงมือดัดตกแต่งตามต้องการ ในปัจจุบันมีผู้ปลูกเลี้ยงไม้ดัดกันมากขึ้น จึงเกิดมีอาชีพขุดต้นตอขาย ผู้ที่อยู่ใกล้แหล่งธรรมชาติที่มีต้นตอขึ้นอยู่แล้วมากมาย จะเลือกขุดและนำมาพักเลี้ยงให้ฟื้นตัวดี เมื่อเริ่มแตกกิ่งก้านใหม่ จึงนำออกมาขายให้กับผู้ที่ต้องการปลูกเลี้ยงต่อไป ในอนาคต คงจะต้องใช้วิธีปลูกเลี้ยงพันธุ์ไม้ขึ้นมาเอง เพราะพันธุ์ไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาตินับวันก็จะหายากและขาดแคลนมากขึ้นเรื่อย ๆ